วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กระบวนการเตรียมทำหนังสั้น

     1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
     2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
     3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
     4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
     5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
     6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
     7. บทภาพ (storyboard)
คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
ที่มา http://guy038.blogspot.com/

โปรแกรมที่นำมาตัดต่อหนังสั้น

Avidemux 

รองรับไฟล์หลากหลายประเภท รวมทั้งไฟล์ MP4 ตัดต่อวีดีโอ แล้วสามารถ ดูบนมือถือ iPhone iPad หรือ มือถือ Android ได้เลยทันที

Movie Maker

โปรแกรมสร้างสไลด์โชว์ เป็นโปรแกรมที่เอาไว้สร้าง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอได้ภายในไม่กี่นาที สามารถตัดต่อวิดีโอ ได้อย่างง่ายๆ สะดวก รวดเร็ว สนับสนุน Windows 8

Sony Vegas Pro 13

เนรมิตทุกสิ่งมาอยู่ใน VDO เพื่อ วีดีโอการนำเสนอ Presentation โฆษณา งานแต่งงาน วีดีโอประชาสัมพันธ์ PR งานอีเว้นต์ ต่างๆ คุณภาพมืออาชีพ

ตัวอย่างหนังสั้น



วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาทะเลาะกันของวัยรุ่น

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
 เมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษา หรือ มีการก่อเหตุทำร้ายกันของนักเรียนอาชีวศึกษาเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ สังคมหรือผู้รับผิดชอบก็มักจะมาออกมาแสดงความคิดเห็น หรือกระตือรือร้นกันพักหนึ่ง มีมาตรการในการป้องกันการแก้ไข และการฟื้นฟู มากมาย แต่ขาดการปฏิบัติ ติดตาม ประเมินผล อย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาอย่างได้ผล และอาจจะมีมายาคติ(myth.) 
เช่น การทะเลาะวิวาทเพราะมีหัวโจก นักเรียนมีนิสัยเกเร นักเรียนขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว เพราะนักเรียนรักเพื่อน นักเรียนอ้างศักดิ์ศรี นักเรียนขาดระเบียบวินัย เด็กมีเวลาว่างมาก ปัญหาการทะเลาะวิวาทเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ และมักจะเห็นคำตอบของวิธีการแก้ไขสำเร็จรูป เช่น ต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ ให้ใส่เครื่องแบบเหมือนกัน ให้ไปฝึกวินัยในค่ายทหาร ให้เรียนวิชาทหารมากขึ้น เอาหัวโจกไปเข้าค่ายร่วมกัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรตระหนักถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ชอบใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา เพราะได้รับตัวอย่างที่ไม่ดีจากครอบครัวและคนรอบข้าง บางคนเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันอย่างรุนแรง ทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำจนกลายเป็นความเก็บกดและแสดงออกมาเหมือนกับที่เห็นตัวอย่าง วัยรุ่นบางคนใช้ความรุนแรงเพราะความเคยชินจากการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ออนไลน์ ซึ่งอยากลองกระทำเหมือนกับในเกมส์นั้นว่าจะมีความรู้สึกเช่นไร ปัญหาการใช้ความรุนแรงใช่ว่าจะมีเพียงกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำ เด็กๆ หลายคนนิยมใช้ความรุนแรงมากกว่าใช้ความคิดเช่นเดียวกัน 
โดยหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่
1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดมาตรการป้องกันที่เป็นรูปธรรม และมีผลปฎิบัติอย่างขัดเจนและต่อเนื่องจริงจัง ไม่แก้ปัญหาแบบวัวหายล้อมคอก สถาบันการศึกษาหรือกลุ่มวิชาต้องส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างจิตสำนึกการรู้รักสามัคคี สร้างภูมิคุ้มกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลงโทษนักศึกษาและสถาบันการศึกษาอย่างเด็ดขาด นำนักศึกษากลุ่มเสี่ยงเข้ารับการบำบัดสร้างเสริมกิจกรรมโดยใช้หลักธรรม คำสอนของศาสนา และผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ เป็นต้น
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
4. สถาบันการศึกษา  สถานศึกษาต้องให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
5. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
มาตรการสำคัญ คือการจะร่วมกับทางสถาบัน นำนักศึกษาที่เป็นหัวโจกมาละลายพฤติกรรม พร้อมระบุสาเหตุหลักที่เด็กทะเลาะวิวาทกันรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิต เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท  ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสถานศึกษา และตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบของตน คอยสอดส่องดูแลกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา เพื่อหาทางแก้ไขและลดปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ทั้งการขอความร่วมมือจากทางผุ้ปกครองคอดสอดส่งอดูแลบุตรหลานของตนไม่ให้เข้าไปอยุ่กับกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่มีนักเรียนก่อเหตุบ่อยครั้ง หรือกลุ่มนักเรียนที่มีแนวโน้มจะกระทำผิด สถานที่ที่จะกระทำผิด โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ระหว่างสถานศึกษากับตำรวจ เฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมนักเรียนใน และนอกสถานศึกษา กวดขันสถานบันเทิงซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุม จู่โจมตรวจค้นสถานศึกษาหรือสถานที่ข้างเคียงซึ่งใช้ซุกซ่อนอาวุธ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมในค่ายทหาร
6. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ

ที่มา https://www.l3nr.org/posts/336350

ผลกระทบต่อสังคม

ผลกระทบต่อสังคม
 การทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่สะท้อนสภาพการณ์ให้เห็นว่าสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพสังคม แบบไทยๆที่มีต้นแบบของผู้ใหญ่ ซึ่งมีลักษณะของการเอื้ออาทร มีความเมตตากรุณาต่อกันแต่มาถึงปัจจุบัน ต้นแบบของสังคมที่ดี โดยผู้ใหญ่บางคนประพฤติ ปฎิบัติตนไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการแสดงออกซึ่งความรุนแรงหรือตัวอย่างที่เยวาวชนได้รับจากสื่อต่างๆ เช่นโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เกมส์ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เยาวชนบางกลุ่ม เอาอย่างจนส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงในสังคมและการทะเลาะวิวาทมาอย่างต่อเนื่อง  ฉะนั้นเมื่อผู้ใหญ่มองว่า วัยรุ่นไทยกำลังหาทางออกต่อปัญหาโดยใช้ความรุนแรงแล้ว ลองมองย้อนกลับไปหาบรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายว่า แท้จริงแล้วตัวเองนั้นเป็นตัวอย่างให้กับกลุ่มวัยรุ่นที่เลือกใช้ความรุนแรงมากกว่าใช้สันติวิธีหรือไม่ การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในหมู่วัยรุ่นนั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เพราะการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุนั้นเป็นเรื่องยากที่ปัญหาจะจบสิ้น ทุกคนต้องมีความนึกคิดที่จะไม่ใช้ความรุนแรงทั้งการกระทำและคำพูดการแก้ไขปัญหาทุกอย่างควรเริ่มจากการสนทนา พูดคุยกัน   เพราะหากมัวนิ่งเฉยคงไม่มีทางแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงที่รุมเร้าประเทศไทยในปัจจุบันได้ สังคมจึงต้องอบรมวัฒนธรรมหรือแนะนำสมาชิกใหม่ให้รู้จักกฎเกณฑ์กำหนดพฤติกรรมทางสังคม เพื่อให้สมาชิกได้รู้บทบาทและหน้าที่ของตนในสังคมและอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข  แต่ในปัจจุบันที่เราเห็นมีแบบอย่างที่ไม่ดีให้วัยรุ่นเห็นโดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง นำไปสู่การยกพวกทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมคือ
1.  เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย  ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้แล
2.  นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.  ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้ “โชว์พาว” ข่มขู่เด็กอื่นๆ
4.  เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม
5.  เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท   สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น

ที่มา https://www.l3nr.org/posts/336350

8 เหตุผลที่เด็กไทยยังต้องยกพวกตีกันต่อไป

          ข่าวคราวเรื่องเด็กยกพวกตีกันเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยและได้ยินมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต เพียงแต่รูปแบบของการทะเลาะกันนับวันจะยิ่งรุนแรงทวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
       
          ในอดีต อาวุธที่มักได้ยินก็จำพวกไม้หน้าสาม เหล็กฟุต ปืนปากกา แต่ปัจจุบันอาวุธจะเป็นพวกมีด ดาบ ปืน ที่พกกันโจ่งครึ่มในที่สาธารณะ
          ขณะที่บรรดาพวกนักเรียนนักเลงส่วนใหญ่ที่เรามักจะได้ยิน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเด็กช่างกล หรือกลุ่มเด็กสายอาชีวะ แต่ยุคนี้นับวันเด็กนุ่งกางเกงขาสั้นในโรงเรียนสายสามัญก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
     
          ตัวเลขที่เด็กทะเลาะกัน ยกพวกตีกัน โดยเรื่องถึงสถานีตำรวจเมื่อปีที่แล้วมีสูงถึงกว่า 2,000 ครั้ง
     
          สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทะเลาะกัน มักเป็นเรื่องของสถาบันที่เป็นคู่อริ เรื่องส่วนตัวจัดว่าน้อยมาก แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเหล่านี้ทะเลาะกันไม่รู้จบสิ้น เป็นเรื่องที่ถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ต้องเอาจริงเอาจังกันทุกฝ่าย มิใช่เกิดปัญหาครั้งหนึ่ง แล้วก็ลุกขึ้นมาทำท่าเอาจริงเอาจัง แล้วก็เงียบหายเข้ากลีบเมฆ
     
          สุดท้ายคนที่รับเคราะห์และมักเป็นผู้สูญเสียบ่อยๆ ก็คือ คนบริสุทธิ์ที่ต้องโดนลูกหลงของสถานการณ์
     
          ลองค้นหาเหตุผลที่เด็กนักเรียนเหล่านี้มักทะเลาะกันจนกระทั่งนำไปสู่ความรุนแรงและสูญเสียมีอะไรกันบ้าง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
     
           ในระดับของตัวเองและครอบครัว
     
1.สภาพร่างกายและจิตใจของกลุ่มวัยรุ่นมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมน ทางกายวิภาคของสมอง ในช่วงวัยรุ่น สมองส่วนหน้าสุด หรือ prefrontal lobe ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิจารณญาณ และการตัดสินใจต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยช่วงเวลาที่ยาวนานเป็น 10 ปี ในการพัฒนาอย่างเต็มที่ และในระยะนี้ ก็เป็นช่วงเดียวกันกับที่สมองส่วนอยาก (Limbic system) มีการเปลี่ยนแปลงจากการได้รับฮอร์โมนเพศ ทำให้มีความต้องการทางเพศ การแสวงหาความตื่นเต้น ตลอดจนความรุนแรง จึงเป็นลักษณะที่โดดเด่นของวัยรุ่น
     
       และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กวัยรุ่นจึงมักหุนหันพลันแล่น และขาดความยับยั้งชั่งใจ เพราะสมองส่วนหน้าจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาที่ดี ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ประสบการณ์ จนกว่าจะบรรลุวุฒิภาวะ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้อีกยาวไกล
     
2.เป็นเรื่องต่อเนื่องจากข้อแรก เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มักจะมีปัญหาเรื่องครอบครัวแตกแยก หรือไม่ได้ใกล้ชิดกับครอบครัว การโหยหาความรัก การขาดการอบรมสั่งสอน หรือเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและถูกต้อง รวมไปถึงการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น เพราะตัวเองขาด จึงต้องการโหยหา และทำให้เลือกทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม
     
3.พฤติกรรมเลียนแบบ ต้องยอมรับว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไป โลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้สภาพปัญหานี้ถูกตีแผ่มากขึ้น แต่ก็เหมือนดาบสองคมด้วยเช่นกัน เพราะก็มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่แห่กันทำตามข่าวที่ได้พบเห็น เพราะจะได้เป็นข่าวบ้าง เคยมีเด็กบางคนได้ลงสื่อ กลับรู้สึกว่าตัวเองเจ๋งก็มีไม่น้อย
     
       ยิ่งพฤติกรรมความรุนแรงของผู้ใหญ่ในสังคมในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปัญหาทางการเมืองยิ่งเป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดความรุนแรง ทั้งเรื่องการใช้อาวุธอย่างโจ่งครึ่มเกิดขึ้นแทบรายวัน เดี๋ยวเกิดระเบิด เดี๋ยวมีการยิงกัน หรือแม้แต่ข่าวคราวเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เป็นความรุนแรงรายวันที่เกิดขึ้นจนอารมณ์ความรู้สึกของเด็กเริ่มชาชินกับความรุนแรง
     
4.ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง ยิ่งถ้ามาจากครอบครัวที่แตกแยก ขาดความรักความใส่ใจ ก็มักจะไปเรียกร้องเอากับผู้อื่น จากเพื่อน จากสังคม เพื่อต้องการการยอมรับจากผู้อื่น แต่การกระทำกลับเป็นการเรียกร้องในรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง และกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด
     
          ในระดับโรงเรียน
     
5.ศักดิ์ศรีของสถาบันที่ถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น คนที่เรียนโรงเรียนอาชีวะที่เคยมีเรื่องกับสถาบันอื่นมาก่อน เมื่อเข้าไปเรียนแล้วมักจะได้รับการปลูกฝัง ในท่วงทำนองให้ทำเพื่อสถาบัน
     
6.ค่านิยมที่เมื่อได้ทำร้ายโรงเรียนคู่อริ จะได้รับการยอมรับจากเพื่อน ได้รับคำชมว่าเจ๋ง จากสถาบันของตัวเอง
     
7.คุณครูและผู้บริหารโรงเรียนขาดการเอาจริงเอาจังกับปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งที่ปัญหานี้เกิดขึ้นมายาวนาน เรื่องเด็กแสบในโรงเรียนเป็นเรื่องที่เด็กนักเรียนด้วยกัน หรือโรงเรียนย่อมรู้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้จัดการอย่างจริงจัง ด้วยหลากหลายเหตุผล แต่เหตุผลที่น่าเศร้าที่สุด ก็คือ กลัวลูกศิษย์ทำร้าย
     
8.โครงสร้างการศึกษาในบ้านเรามีปัญหา แต่ไหนแต่ไรมา เรามักมองว่าเด็กอาชีวะเป็นเด็กที่ไม่สามารถเรียนสายสามัญได้ เด็กเรียนไม่ดี เด็กเกเร ทั้งที่จริงเด็กเหล่านี้จำนวนมากเป็นเด็กเรียนดี มีความคิดสร้างสรรค์ ตั้งใจและรู้ว่าตัวเองชอบอะไรก็มุ่งมั่นเรียนในสายอาชีพ แต่เราไปสร้างค่านิยมผิดๆ มาโดยตลอด
     
       ตรงกันข้าม ถ้าเรายกระดับการศึกษาอาชีวะให้มีคุณค่า พัฒนาอย่างจริงจังในทุกด้าน ก็จะทำให้เด็กรู้สึกมีคุณในตัวเอง เป็นเด็กที่มีศักยภาพ และมีตัวตนในสังคม มีพื้นที่และโอกาสให้เด็กเหล่านี้เพื่อพัฒนาตัวเองได้อย่างทัดเทียมผู้อื่น เราจะได้เด็กนักเรียนที่มีความสามารถมากมายที่พร้อมจะพัฒนาประเทศชาติ
     
       แต่...วิธีการแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ในบ้านเรา กำลังกลายเป็นปัญหาเองด้วยซ้ำ
     
       ที่ผ่านมา เรามักแก้ไขปัญหาแบบไทยๆ ด้วยการเปลี่ยนให้เด็กโรงเรียนคู่อริมาจับมือกัน , เปลี่ยนเครื่องแบบ ,ปิดโรงเรียนชั่วคราว หรือแม้แต่ถึงขั้นเปลี่ยนชื่อ “โรงเรียน(อาชีวะ)” ให้เป็น “วิทยาลัย..” หรือยกระดับ “ประกาศนียบัตร” เป็น “ปริญญา” อะไรเทือกนี้
     
       เปลี่ยนแบบนี้อีกกี่ร้อยครั้ง เราก็ต้องอยู่กันท่ามกลางเด็กวัยรุ่นยกพวกตีกันต่อไป เพียงแต่ต้องระวังตัวให้มากขึ้นละกัน เพราะสักวันอาจโดนลูกหลง...!!! 

ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000125368


แนวทางป้องกันพฤติกรรมความรุนแรง

แนวทางป้องกันพฤติกรรมความรุนแรง

        ปัญหาความรุนแรงในสังคม เป็นปัญหาเรื้อรังทีมีคู่กับคนในสังคมมายาวนาน สร้างความเสียหายให้กับชีวิต และทรัพย์สิน รวมถึงผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเหยื่อ และผู้ใกล้ชิดในครอบครัว ที่ประเมินค่าไม่ได้ หลายหน่วยงานร่วมรณรงค์ ต่อต้านความรุนแรงต่อสตรี และเด็ก แต่ในปัจจุบันความรุนแรงในสังคมก็ยังไม่ได้ลดลงไป นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความคิดเห็นในการป้องกันปัญหาความรุนแรงดังต่อไปนี้

 องค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งเป็นการป้องกัน 4 ด้านดังนี้

1.การป้องกันด้านตัวบุคคลการป้องกันที่ตัวบุคคลมีจุดประสงค์สองประการ คือ ประการแรกต้องสนับสนุนและเสริมสร้างเจตคติและพฤติกรรมที่ดีในเด็กและวัยรุ่นเพื่อเป็นการป้องกันก่อนที    จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมความรุนแรง ประการที่สองเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมในบุคคลที่ก่อความรุนแรงหรือมีความเสี่ยงที่จะใช้ความรุนแรง

2. การป้องกันทางด้านความสัมพันธ์ของบุคคลเป็นการป้องกันในระดับครอบครัว คือ ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีงามของครอบครัว และแก้ไขสัมพันธภาพที่ไม่ถูกต้องในครอบครัว อาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่อและผู้กระทําความรุนแรง เช่น ความขัดแย้งในชีวิตแต่งงาน การขาดความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างบิดามารดาผู้ปกครองและเด็ก และอิทธิพลทางลบจากผู้ใกล้ชิดหรือเพื่อน

3. การป้องกันทางด้านชุมชนเป็นการสร้างความรับรู้และตื่นตัวเรื่องความรุนแรงให้แก่สังคม กระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมแก้ปัญหา และส่งเสริมให้มีระบบดูแลเหยื่อที่ได้รับความรุนแรง

4. การป้องกันทางด้านสังคม เป็นการป้องกันที่มีเป้าหมายไปที่ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย สังคมโดยรวมและวัฒนธรรมความเชื่อ



ที่มา http://natnutdream.blogspot.com/2013/02/2.html